การทำงานโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้นั้น เป็นการทำงานโดยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานนั้นๆให้มีผลดีมากยิ่งขึ้นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้นั้น ก็ต้องกันไปตามลักษณะของงานแต่ละอย่าง ซึ่งการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานด้านใด ก็จะเรียกว่าเทคโนโลยีด้านนั้นๆ เช่น ถ้านำมาใช้ทางด้านการแพทย์ ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ ถ้านำมาใช้ทางด้านการเกษตร ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร ถ้านำมาใช้ทางด้านวิศวกรรม ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางวิศวกรรม ถ้านำมาใช้ทางด้านการศึกษา ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่า เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีในด้านใดก็จะเรียกเทคโนโลยีด้านนั้น เมื่อมี
การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานในส่วนต่างๆของวงการศึกษา การที่จะศึกษาถึง องค์ประกอบต่างๆในเทคโนโลยีการศึกษาจึงจำเป็นต้อง ทราบความหมายของคำต่างๆเหล่านี้ให้เข้าใจอย่างชัดเจนเสียก่อน รวมถึงพัฒนาการระยะต่างๆของเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเป็นการศึกษาถึงความเจริญ ก้าวหน้าทางด้านนี้ทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ รวมถึงความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี การศึกษา
เทคโนโลยีคืออะไร
เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยีคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัยมีราคาแพงมีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้นรวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วยอย่างไร ก็ตาม“เทคโนโลยี”เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีกคือ ภาษาลาตินTexere:การสาน(toweare) :
การสร้าง(toconstruct)ภาษากรีกTechnologia:การกระทำอย่างมีระบบ(Systematic Treatment)
เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือ
เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือ
ดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผลพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึงวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอา
วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น3ลักษณะ คือ(Heinich,Molendaand Russell. 1993 : 449)
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ(process)เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติโดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต(product)หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต(processand product)เช่นระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
สารานุกรมเอ็นคาร์ทา(Encarta1999)ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี(Technology)ไว้ว่าTechnologyเป็นคำที่มาจากภาษากรีก2คำรวมกัน คือTekhneหมายถึงศิลปหรืองานช่างฝีมือ(art of craft)และlogiaหมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา(art of study)ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึงหมายถึงการศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ
พจนานุกรมเว็บสเทอร์(Websters1994)ได้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี ไว้ดังนี้1)ก.การใช้ทางวิทยาศาสร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพานิชกรรม ข.องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้2)องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูนฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญเพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ
บราวน์(Brown)กล่าวว่าเทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
เดล(Dale1969)ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลองเครื่องมือ และกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลองและได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
กัลเบรท(Galbraith1967)ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้คือเทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติส่วนนักการศึกษาของไทยได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีดังนี้
ครรชิต มาลัยวงศ์(2539)ได้ให้รายละเอียดของคำว่าเทคโนโลยีหมายถึง
1. องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
2. การประยุกต์วิทยาศาสตร์
3. วัสดุ เครื่องยนต์กลไก เครื่องมือ
4. กรรมวิธี และวิธีดำเนินงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์
5. ศิลปะ และทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิตการสร้าง และการใช้สิ่งของ กระบวนการหรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
สุพิทย์กาญจนพันธุ์(2541)หมายถึงวิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้และการประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือทรัพยากรมนุษย์ และ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือเพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในความหมายนี้เทคโนโลยีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต(2528)กล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผลและจากความหมายดังกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า
เทคโนโลยีเป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้นเทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ3ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย(ก่อสวัสดิพาณิชย์2517 :84)คือ
1. ประสิทธิภาพ(Efficiency)เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2. ประสิทธิผล(Productivity)เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3. ประหยัด(Economy)เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป
เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบันการดำเนินกิจการงานด้านต่าง ๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจะใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเป็นส่วนใหญ่เทคโนโลยีจึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านต่าง ๆทุกแขนงถ้านำไปใช้แก้ปัญหาในแขนงใด จะเรียกเทคโนโลยีในด้านนั้น เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม เป็นต้นในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มีปัญหาต่าง ๆมากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขจึงเกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้น
นักการศึกษาและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่างๆได้ให้ความหมายของคำเทคโนโลยีการศึกษาไว้ดังนี้
กู๊ด(Good1973)ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประส่งค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอนมีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์สื่อการสอนต่างๆในลักษณะของสื่อประสมและการศึกษาด้วยตนเอง
วิจิตร ศรีสะอ้าน(2517)ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นการประยุกต์เอาเทคนิควิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่างๆ3ด้าน คือ การนำเอาเครื่องมือใหม่ๆมาใช้ในการเรียนการสอนการผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่รวมถึงการใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ
กาเยและบริกส์(Gagne and Briggs 1974)ได้ให้ความหมายไว้ว่าเทคโนโลยีการศึกษานั้นพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆโดยรวมถึง
1.ความสนใจในเรื่องความแตกต่างๆระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม และบทเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเป็นต้น
2.ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่นทฤษฎีการเสริมแรงของบี.เอฟสกินเนอร์(B.F Skinner)
3.เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆรวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย
โคลี,แครดเลอร์,และเอ็นเจล(Coley, Cradler, and Engel 1996)ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาไว้ว่า ในความหมายกว้างๆแล้วเทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นคำซึ่งรวมถึงทรัพยากรใดๆก็ตามที่ใช้ในการให้การศึกษาแก่ผู้เรียนโดยอาจรวมถึงวิธีการ เครื่องมือ หรือกระบวนการ หากเป็นในเชิงปฏิบัติแล้วคำนี้จะใช้ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่2ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่นฟิล์มสทริปเครื่องฉาย สไลด์ เทปเสียง โทรทัศน์และห้องปฏิบัติการทางภาษา เมื่อมีการนำเอาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในช่วงปีพ.ศ.2523 – 2532 (ทศวรรษ1980s)จึงเป็นยุคของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้และในปัจจุบันจะเป็นการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารควบคู่กับคอมพิวเตอร์
จึงสรุปได้ว่าเทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การนำความรู้ แนวคิดกระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติได้ให้ความหมายของการศึกษา และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2543 : 3-6)
มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปและวัฒนธรรมตามความ จำเป็น
มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำราหนังสือทาง วิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้
ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ ในการใช้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ในโอกาสแรกที่ทำได้เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหา
ความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกำไรที่ได้จาการดำเนินกิจการด้านสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษ ในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 69 จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตามนัยของหมวด 9
การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้สึก การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นระบบการประยุกต์ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม ผสมผสานกับหลักทางสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา มาใช้ในการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมการจัดและออกแบบระบบพฤติกรรม เทคนิควิธีการ การสื่อสาร การจัดสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน และการประเมิน
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในที่นี้จะมีความหมายครอบคลุมการผลิต การใช้การพัฒนาสื่อสารมวลชน (ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์) เทคโนโลยีสารสนเทศ ( คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต มัลติมีเดีย) และโทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคม การสื่อสารอื่น ๆ) เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและสถานที่
เทคโนโลยีทางการสอน
เทคโนโลยีทางการสอน เป็นการนำเอาสื่อประเภทต่าง ๆ เทคนิค วิธีการ วิธีระบบ เพื่อการออกแบบการสอน และหลักการด้านจิตวิทยา สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ รวมถึงการสื่อสารของมนุษย์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
นวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่านวกรรมเป็นคำมาจากภาษาอังกฤษว่าInnovationแปลว่า การทำสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา คำว่านวกรรม มาจากคำบาลีสันสฤต คือนวหมายถึง ใหม่ และกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ
นวัตกรรม(Innovation)หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นวัตกรรมทางการศึกษาหมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยและช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง3ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้ว นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ
แหล่งข้อมูล
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา มีอยู่หลายทัศนะ ดังต่อไปนี้
องค์กรร่วมสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา ประเทศอังกฤษ (Council for Educational Technology for the United Kingdom - CET) อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึงการพัฒนาการนำไปใช้และการประเมินระบบ วิธีการดำเนินงาน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อทำให้การเรียนรู้ของคนเราให้ดีขึ้น" ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น โดยครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์หรือเครื่องมือ วิธีการ ดร. เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ ศูนย์บทเรียนโปรแกรมแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ (National Centre for Programmed Learning , UK) อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ และเงื่อนไขของการเรียนรู้ มาใช้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอนและการฝึกอบรม แต่ถ้าหากปราศจากหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้ว เทคโนโลยีทางการศึกษาจะแสวงหาวิธีดำเนินการโดยการทดลองเพื่อเสริมสร้างสถานภาพองการเรียนรู้ให้ดีขึ้น" คณะกรรมาธิการสาขาเทคโนโลยีการสอน ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Commission on Instructional Technology . USA) ได้อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือการนำแนวความคิดที่เป็นระบบไปใช้ในการออกแบบ ดำเนินการ และประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งกระบวนการในรูปของวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสื่อความหมายของมนุษย์เรา อีกทั้งนำเอาทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรอื่น ๆ มาผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการเรียนรู้ที่สูงยิ่งขึ้น"Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุตามแผนการ ครรซิต มาลัยวงษ์ กล่าวว่า "การใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการศึกษา ก็คงจะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ส่วนผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม อาจเรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมองว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการใช้เทคโนโลยีลักษณะเดียวกัน แต่มีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน" ชัยยงค์ (2523) อธิบายถึง เทคโนโลยีทางการศึกษาไว้อย่างละเอียดว่า "เทคโนโลยีเป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ (วัสดุ) และผลิตกรรมของวิศวกรรม (อุปกรณ์) โดยยึดหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ) มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทั้งในด้านบริหารด้านวิชาการ และด้านบริการ" หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงระบบการศึกษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น วัสดุ (Material) หมายถึงผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่มีการผุผังสิ้นเปลืองได้ง่าย เช่น ชอร์ค ดินสอ ฟิล์ม กระดาษ ส่วนอุปกรณ์ (Equipment) หมายถึงผลิตกรรมทางวิศวกรรมที่เป็นเครื่องมือค่าง ๆ เช่น โต๊ะกระดานดำ เก้าอี้ เครื่องฉาย เครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ และวิธีการ (Technique) หมายถึงระบบ กระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา หลักสังคมวิทยา ภาษา ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการศึกษา เช่น การสาธิต ทดลอง กลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้นจากความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามที่กล่าวมานั้น ต่างเน้นให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า บทบาทและหน้าที่หลักของเทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การพัฒนาประสิทธิ์ผลของกระบวนการของการเรียนรู้ ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วยการแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาของชาวกรีก และโรมันโบราณ ยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย การสอนศิลปวิจักษ์ ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และแกะสลักช่วยสอนแล้ว คนสำคัญ ๆ ของกรีกและโรมันสมัยนั้น ต่างเห็นความสำคัญของทัศนวัสดุในการสอน ว่าทัศนวัสดุช่วยการปาฐกถาได้มาก
เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos comenius ค.ศ. 1592 - 1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจังจนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา ท่านผู้นี้เป็นพระในนิกายโปรแตสแตนท์ ในตำแหน่งสังฆราชแห่งโมราเวีย เยอรมัน ท่านมีแนวคิดในเรื่องวิธีการสอนใหม่ โดยได้ย้ำความสำคัญของสิ่งของ ของจริง ในการสอน และได้รวบรวมหลักการสอนจากประสบการณ์ที่ทำการสอนมาถึง 40 ปี คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือโลกในรูปภาพ ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1685 เป็นหนังสือที่ใช้มากและมีอิทธิพลมาก ใช้รูปภาพเป็นหัวใจของเรื่องมีรูปภาพประกอบการเรียนถึง 150 รูป บทเรียนบทหนึ่ง จะมีรูปภาพประกอบรูปหนึ่ง เรื่องต่าง ๆ ที่มีในหนังสือ เช่น พระเจ้า สวรรค์ อากาศโลก ต้นไม้ เป็นต้น
ธอร์นไดค์ นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา เขาได้เริ่มสร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสัตว์ ในชณะที่เขายังเป็นนักศึกษาอยู่ ต่อมาได้ร่วมเป็นอาจารย์สอน ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี 1898 และได้ใช้ชีวิตเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เบื้องต้นการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ ในปี ค.ศ. 1912 เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรม จึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่
บี เอฟ สกินเนอร์ เป็นผู้ใช้แนวคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติ ของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้นๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง ในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอน ได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก
แนวคิดทางการศึกษาของบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ พัฒนาไปพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าทางสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ ที่ส่งผลให้เทคโนโลยีการศึกษาเจริญก้าวหน้า เช่น การผลิตกระดาษ การพิมพ์ การถ่ายภาพ การฉายภาพ การบันทึกเสียง วิทยุ-โทรทัศน์ การบันทึกภาพ จนถึงยุคคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาของชาวกรีก และโรมันโบราณ ยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย การสอนศิลปวิจักษ์ ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และแกะสลักช่วยสอนแล้ว คนสำคัญ ๆ ของกรีกและโรมันสมัยนั้น ต่างเห็นความสำคัญของทัศนวัสดุในการสอน ว่าทัศนวัสดุช่วยการปาฐกถาได้มาก
เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos comenius ค.ศ. 1592 - 1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจังจนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา ท่านผู้นี้เป็นพระในนิกายโปรแตสแตนท์ ในตำแหน่งสังฆราชแห่งโมราเวีย เยอรมัน ท่านมีแนวคิดในเรื่องวิธีการสอนใหม่ โดยได้ย้ำความสำคัญของสิ่งของ ของจริง ในการสอน และได้รวบรวมหลักการสอนจากประสบการณ์ที่ทำการสอนมาถึง 40 ปี คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือโลกในรูปภาพ ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1685 เป็นหนังสือที่ใช้มากและมีอิทธิพลมาก ใช้รูปภาพเป็นหัวใจของเรื่องมีรูปภาพประกอบการเรียนถึง 150 รูป บทเรียนบทหนึ่ง จะมีรูปภาพประกอบรูปหนึ่ง เรื่องต่าง ๆ ที่มีในหนังสือ เช่น พระเจ้า สวรรค์ อากาศโลก ต้นไม้ เป็นต้น
ธอร์นไดค์ นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา เขาได้เริ่มสร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสัตว์ ในชณะที่เขายังเป็นนักศึกษาอยู่ ต่อมาได้ร่วมเป็นอาจารย์สอน ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในปี 1898 และได้ใช้ชีวิตเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เบื้องต้นการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ ในปี ค.ศ. 1912 เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรม จึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่
บี เอฟ สกินเนอร์ เป็นผู้ใช้แนวคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติ ของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้นๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง ในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอน ได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก
แนวคิดทางการศึกษาของบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ พัฒนาไปพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าทางสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ ที่ส่งผลให้เทคโนโลยีการศึกษาเจริญก้าวหน้า เช่น การผลิตกระดาษ การพิมพ์ การถ่ายภาพ การฉายภาพ การบันทึกเสียง วิทยุ-โทรทัศน์ การบันทึกภาพ จนถึงยุคคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
เทคโนโลยีก่อประโยชน์แก่ระบบการศึกษามากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาสามารถเร่งอัตราการเรียนรู้ให้เร็วขึ้น ลดภาระทางด้านการบริหารของครูและยังทำหน้าที่แทนครูในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือข่าวสารประจำวันต่าง ๆเทคโนโลยีเน้นการศึกษาไปสู่ความเป็นส่วนบุคคลมากขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมนั้นเป็นการขยายขอบเขตของการเรียนรู้ออกไปได้อย่างกว้างเทคโนโลยีทำให้การสอนมีพลังยิ่งขึ้น ระบบการสื่อสารในปัจจุบันได้ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคนเรา ดังนั้นสื่อการสอนในยุคใหม่นี้จึงสามารถจำลองสถานการณ์จริง ช่วยร่นระยะทางและเหตุการณ์ที่อยู่คนซีกโลกมาสู่นักเรียนได้เทคโนโลยีทำให้การเรียนเป็นไปอย่างฉับพลันยิ่งขึ้น เทคโนโลยีการสอนเปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างที่อยู่ภาย นอกโรงเรียนและโลกที่อยู่ภายในโรงเรียนเทคโนโลยีสามารถทำให้เกิดความเสมอภาคของการศึกษามากขึ้นทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้ทุกหนแห่ง เทคโนโลยีพร้อมที่จะหยิบยื่นความรู้ให้แก่ทุกคนเสมอ
Technology in education (หรือ Tools technology)
Technology in education หมายถึงวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการนำเสนอเนื้อหาสาระทางการศึกษาหรือการฝึกอบรม ได้แก่ โทรทัศน์ ห้องปฏิบัติการภาษา เครื่องฉายประเภทต่าง ๆ ( หรือที่เรียกว่า สื่อการสอน) Technology of education (หรือ System technology)
Technology of education หมายถึง เป็นการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อักทั้งวัสดุ และวิธีการมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสาขาวิชานี้ได้กล่าวถึงการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อักทั้งบรรดาวัสดุ และวิธีการมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวมีจุดประสงค์หลายประการด้วยกัน เช่นเพื่อเพิ่มพูนคุณภาพของการเรียน และผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ลดเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ให้น้อยลงเพิ่มประสิทธิภาพของผู้สอนให้มีความสามารถต่อการสอนผู้เรียนที่มีปริมาณมากขึ้นโดยที่ไม่ทำให้ การ เรียนรู้ด้อยคุณภาพลงลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง โดยไม่กระทบกระเทือนคุณภาพของการเรียนเทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งหมายถึง การ เทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษาที่กล่าวถึงกันส่วนใหญ่ จึงเป็นเรื่องของ เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอน หรือการทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั้น เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เทคนิคและวิธีการมากมาย ไม่มีเทคนิคหรือวิธีการใดที่เราจะยอมรับกันได้ว่า ดีที่สุดสำหรับการเรียนการสอน เทคนิคและวิธีการแต่ละอย่างก็มีความเหมาะสมตามสภาพการณ์และเนื้อหาวิชาที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็เป็นที่ยอมรับ กันโดยทั่วไปว่า การเรียนการสอนที่มีวัสดุอุปกรณ์ตลอดจน เครื่องมือ วิธีการ ช่วยอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ มากกว่าการเรียนการสอน โดยให้นักเรียนฟังแต่เพียงคำพูด แต่เพียงอย่างเดียว
Technology in education หมายถึงวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการนำเสนอเนื้อหาสาระทางการศึกษาหรือการฝึกอบรม ได้แก่ โทรทัศน์ ห้องปฏิบัติการภาษา เครื่องฉายประเภทต่าง ๆ ( หรือที่เรียกว่า สื่อการสอน) Technology of education (หรือ System technology)
Technology of education หมายถึง เป็นการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อักทั้งวัสดุ และวิธีการมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสาขาวิชานี้ได้กล่าวถึงการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ อักทั้งบรรดาวัสดุ และวิธีการมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวมีจุดประสงค์หลายประการด้วยกัน เช่นเพื่อเพิ่มพูนคุณภาพของการเรียน และผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ลดเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ให้น้อยลงเพิ่มประสิทธิภาพของผู้สอนให้มีความสามารถต่อการสอนผู้เรียนที่มีปริมาณมากขึ้นโดยที่ไม่ทำให้ การ เรียนรู้ด้อยคุณภาพลงลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลง โดยไม่กระทบกระเทือนคุณภาพของการเรียนเทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งหมายถึง การ เทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษาที่กล่าวถึงกันส่วนใหญ่ จึงเป็นเรื่องของ เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอน หรือการทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั้น เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เทคนิคและวิธีการมากมาย ไม่มีเทคนิคหรือวิธีการใดที่เราจะยอมรับกันได้ว่า ดีที่สุดสำหรับการเรียนการสอน เทคนิคและวิธีการแต่ละอย่างก็มีความเหมาะสมตามสภาพการณ์และเนื้อหาวิชาที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็เป็นที่ยอมรับ กันโดยทั่วไปว่า การเรียนการสอนที่มีวัสดุอุปกรณ์ตลอดจน เครื่องมือ วิธีการ ช่วยอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ มากกว่าการเรียนการสอน โดยให้นักเรียนฟังแต่เพียงคำพูด แต่เพียงอย่างเดียว
แนวโน้มของการศึกษาในปัจจุบัน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์อย่างกว้างขวาง แทนการฟังแต่เพียงคำบอกเล่าของครู ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากจำนวนผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น การขยายตัวของสาขาวิทยาการต่าง ๆ ทำให้สิ่งที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้มากขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางให้ผู้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด โดยใช้เวลาในการเรียนน้อยกว่าเดิม การเรียนการสอนที่ปฏิบัติได้จริง ส่วนใหญ่ เราไม่สามารถจัดประสบการณ์ตรง ให้กับผู้เรียนได้ทุกเนื้อหาเนื่องจากอาจมีข้อจำกัดบางประการณ์ เช่นต้องลงทุนมากต้องใช้เวลานานมาก อาจเป็นหลายวัน หลายปีหรือปลายร้อยปีมีความยุ่งยากซับซ้อนมากความรู้บางอย่างไม่อาจสัมผัสได้โดยตรง
ดังนั้น นอกเหนือจากการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงแล้ว เรายังมีความจำเป็นต้องจัดประสบการณ์อย่างอื่นให้ผู้เรียนได้รับ แทนประสบการณ์ตรงด้วย เช่น การใช้รูปภาพ หนังสือ แผนภูมิ วิทยุโทรทัศน์ วิธีการอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อให้ผลผลิตทางการศึกษามีคุณภาพสูงสุด การจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่มีการใช้สื่อการเรียนการสอน ครูมักเน้นหนักที่การใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นสำคัญ ซึ่งไม่อาจรับรองหรือเชื่อถือได้ว่าจะบรรลุจุดประสงค์ทั้งนี้เพราะการใช้วัสดุอุปกรณ์กับครู ซึ่งมีชีวิต จิตใจ มีอารมณ์ มีสภาพแวดล้อม ไม่คงที่ จำเป็นจะต้องปรับกระบวนการในการใช้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ วิธีการกระบวนการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ จะต้องเป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งก็คือการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษานั่นเองการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นผลมาจากองค์ประกอบ 3 ประการ 1.ปัญหาหรือวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และแนวโน้มของปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
2.เอกลักษณ์ ค่านิยม และเจตคติในปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้ม
3.ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะมีขึ้นในอนาคต
มิลเลอร์ (Willam C. Miller , 1981 อ้างจาก ครรซิต มาลัยวงษ์ 2540 : 39) สรุปว่าการศึกษาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปดังนี้ -จัดเป็นการศึกษาในระบบน้อยลงดังนั้น นอกเหนือจากการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงแล้ว เรายังมีความจำเป็นต้องจัดประสบการณ์อย่างอื่นให้ผู้เรียนได้รับ แทนประสบการณ์ตรงด้วย เช่น การใช้รูปภาพ หนังสือ แผนภูมิ วิทยุโทรทัศน์ วิธีการอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อให้ผลผลิตทางการศึกษามีคุณภาพสูงสุด การจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่มีการใช้สื่อการเรียนการสอน ครูมักเน้นหนักที่การใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นสำคัญ ซึ่งไม่อาจรับรองหรือเชื่อถือได้ว่าจะบรรลุจุดประสงค์ทั้งนี้เพราะการใช้วัสดุอุปกรณ์กับครู ซึ่งมีชีวิต จิตใจ มีอารมณ์ มีสภาพแวดล้อม ไม่คงที่ จำเป็นจะต้องปรับกระบวนการในการใช้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ วิธีการกระบวนการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ จะต้องเป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งก็คือการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษานั่นเองการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นผลมาจากองค์ประกอบ 3 ประการ 1.ปัญหาหรือวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และแนวโน้มของปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
2.เอกลักษณ์ ค่านิยม และเจตคติในปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้ม
3.ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะมีขึ้นในอนาคต
-ค่าใช้จ่ายจะต้องถูกลง
-สอนเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์มากขึ้น
-สอนเป็นระบบรายบุคคลมากขึ้น
-สอนในเรื่องที่เห็นจริงเห็นจังมากขึ้น
-สอนเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ธรรมมากขึ้น
-บทเรียนสนุกสนานมากขึ้น
แหล่งข้อมูล
บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอน
เทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอน ประกอบด้วย
1. บทบาทด้านการจัดการ
2. บทบาทด้านการพัฒนา
3. บทบาทด้านทรัพยากร
4. บทบาทด้านผู้เรียน
Domain of Education Technology จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การจัดระเบียบ (organizing) และการบูรณาการ (integrating) องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือกล่าวได้ว่า เป็นการเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายนั้น ประกอบด้วย
1 การจัดการทางการศึกษา (Educational Management Functions) เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อควบคุมหรือกำกับการพัฒนาการศึกษา/การสอน หรือการจัดการทางการศึกษา/การสอน (การวิจัย การออกแบบ การผลิต การประเมนผล การให้ความช่วยเหลือการใช้) เพื่อเป็นหลักประกันประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประการใหญ่ ๆ คือ
1.1 การจัดการหรือบริหารด้านหน่วยงานหรือองค์การ (Organization Management) เพื่อให้ดำเนินงานตามวิธีระบบและบรรลุวัตถุประสงค์ จะเกี่ยวข้องกับงานสำคัญ ๆ ดังนี้คือ
1.1.1การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบาย เกี่ยวกับบทบาท วัตถุประสงค์ การเรียนการสอน ผู้เรียน ทรัพยากรการเรียน ฯลฯ จะต้องให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน
1.1.2 การให้การสนับสนุน จะต้องมีการวางแผน การจัดหาข้อมูล ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการพิจารณาและตัดสินใจ และการวางแผนปฏิบัติงานและการประเมินผลงานที่ดี
1.1.3 การจัดบริการที่มีประสิทธิภาพ
1.1.4 การสร้างความประสานสัมพันธ์ ให้มีการร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย ตลอดจนวิธีการเผยแพร่ข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารเพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสำเร็จตามวัตถุประสงค์
1.2 การจัดหรือบริหารงานด้านบคคล (Personal Management) เป็นการจัดงานทางด้านการจัดบุคลากรให้เหมาะสมตามหน้าที่การงาน และความสามารถเฉพาะงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ อันได้แก่การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานทั้งการบรรจุใหม่ หรือการว่าจ้าง การฝึกอบรมหรือพัฒนากำลังคน การนิเทศงาน การบำรุงขวัญการทำงาน สวัสดิการ และ การประเมินผลการประกอบกิจการของบุคลากร
1 การจัดการทางการศึกษา (Educational Management Functions) เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อควบคุมหรือกำกับการพัฒนาการศึกษา/การสอน หรือการจัดการทางการศึกษา/การสอน (การวิจัย การออกแบบ การผลิต การประเมนผล การให้ความช่วยเหลือการใช้) เพื่อเป็นหลักประกันประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประการใหญ่ ๆ คือ
1.1 การจัดการหรือบริหารด้านหน่วยงานหรือองค์การ (Organization Management) เพื่อให้ดำเนินงานตามวิธีระบบและบรรลุวัตถุประสงค์ จะเกี่ยวข้องกับงานสำคัญ ๆ ดังนี้คือ
1.1.1การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบาย เกี่ยวกับบทบาท วัตถุประสงค์ การเรียนการสอน ผู้เรียน ทรัพยากรการเรียน ฯลฯ จะต้องให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน
1.1.2 การให้การสนับสนุน จะต้องมีการวางแผน การจัดหาข้อมูล ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการพิจารณาและตัดสินใจ และการวางแผนปฏิบัติงานและการประเมินผลงานที่ดี
1.1.3 การจัดบริการที่มีประสิทธิภาพ
1.1.4 การสร้างความประสานสัมพันธ์ ให้มีการร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย ตลอดจนวิธีการเผยแพร่ข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารเพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสำเร็จตามวัตถุประสงค์
1.2 การจัดหรือบริหารงานด้านบคคล (Personal Management) เป็นการจัดงานทางด้านการจัดบุคลากรให้เหมาะสมตามหน้าที่การงาน และความสามารถเฉพาะงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ อันได้แก่การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานทั้งการบรรจุใหม่ หรือการว่าจ้าง การฝึกอบรมหรือพัฒนากำลังคน การนิเทศงาน การบำรุงขวัญการทำงาน สวัสดิการ และ การประเมินผลการประกอบกิจการของบุคลากร
2 การพัฒนาทางการศึกษา (Educational Development) เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดค้น การปรับใช้ และการประเมินผล ข้อแก้ไขปัญหา ทรัพยาการเรียน ด้วยการวิจัย (Researci-tneory) การออกแบบ (Desing) การผลิต (Production) การประเมินผล (Evaluation) การใช้ (Utilizsiton) ทั้งหมดนี้ต่างก็มีวิธีการดำเนินการที่มีส่วนสัมพันธ์กับทรัพยากรการเรียน เช่น ในด้านการวิจัยนั้น เราก็วิจัยทรัพยากรการเรียนนั่นเอง ซึ่งก็ได้แก่การวิจัย ข่าวสารข้อมูล บุคลากร วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่ ดังนี้เป็นต้น นอกจากนี้ เนื่องจากว่าเทคโนโลยีการศึกษามีส่วนในการพัฒนา และเอื้ออำนวยต่อกระบวนการสอนต่าง ในระบบการสอน จึงจะต้องมีกิจกรรมที่สัมพันธ์กับการพัฒนาระบบการสอนและระบบการศึกษาด้วย
2.1 การวิจัย ในการพัฒนาทรัพยากรการเรียนเป็นการสำรวจศึกษาค้นคว้า และทดสอบเกี่ยวกับความรู้ ทฤษฎี (ทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัย) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรการเรียน องค์ประกอบระบบการสอนและผู้เรียน การวิจัยเป็นการพัฒนาโครงสร้างของความรู้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐาน การตัดสินใจในการดำเนินการผลของการวิจัยคือ ได้ความรู้ ซึ่งจะนำไปใช้ ศึกษาค้นคว้าข้อมูล อ่านข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล ทดสอบข้อมูล วิเคราะห์และทดสอบผลลัพธ์ที่ได้
2.1 การวิจัย ในการพัฒนาทรัพยากรการเรียนเป็นการสำรวจศึกษาค้นคว้า และทดสอบเกี่ยวกับความรู้ ทฤษฎี (ทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัย) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรการเรียน องค์ประกอบระบบการสอนและผู้เรียน การวิจัยเป็นการพัฒนาโครงสร้างของความรู้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐาน การตัดสินใจในการดำเนินการผลของการวิจัยคือ ได้ความรู้ ซึ่งจะนำไปใช้ ศึกษาค้นคว้าข้อมูล อ่านข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล ทดสอบข้อมูล วิเคราะห์และทดสอบผลลัพธ์ที่ได้
2.2 การออกแบบ เป็นการแปลความหมาย ความรู้ในหลักการทฤษฎีออกมาในรายละเอียด เฉพาะสำหรับเกี่ยวกับทรัพยาการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอน ผลลัพธ์ของการออกแบบได้แก่รายละเอียดเฉพาะสำหรับผลิตผลของทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอนในเรื่องเกี่ยวกับ รูปแบบหรือแหล่ง หรือทรัพยากรกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนวัตถุประสงค์ ศึกษาลักษณะผู้เรียน วิเคราะห์งาน กำหนดเงื่อนไขการเรียนกำหนดสภาวการเรียน กำหนดรายละเอียดทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอน
2.3 การผลิต มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลความหมาย ข้อกำหนดรายละเอียดสำหรับ ทรัพยาการการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอนให้เป็นแบบลักษณะเฉพาะ หรือเป็นรายการที่จะปฏิบัติได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผลิตผลลักษณะเฉพาะในรูปแบบ ข้อทดสอบ แบบจำลอง กิจกรรมที่ดำเนินงาน ได้แก่ การใช้เครื่องมือสำหรับการผลิต การเขียนแบบ การร่างแบบ การเขียนเรื่องหรือเค้าโครง สร้างแบบจำลอง
2.4 การประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประเมินผลการดำเนินงานของทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอน และเพื่อพัฒนาแบบจำลองที่ใช้ทดสอบ ผลลัพธ์ที่ได้ การประเมินผลการออกแบบ ประสิทธิผลของทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอนที่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด การประเมินผลที่ได้ ทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบการเรียนที่เชื่อถือยอมรับได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน การประเมินผลเพื่อการประเมินผล เช่น ประเมินผลแบบจำลอง การประเมินผลเพื่อการเลือก …ประเมินผลเพื่อการใช้ ทรัพยากรการเรียนที่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด กิจกรรมในการดำเนินงานใช้วิธีการวิเคราะห์คุณภาพ มีเกณฑ์มาตรฐานเป็นเครื่องกำหนด
2.5 การให้ความช่วยเหลือ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอน เอื้ออำนวยต่อองค์ประกอบหน้าที่อื่น ๆ ผลลัพธ์ที่ได้คือการสั่งจอง การจัดหาการแยกประเภทจัดหมวดหมู่ การทำแคตตาลอก การกำหนดตารางเรียน ตารางการใช้ การจำหน่ายจ่ายแจก การใช้เครื่องมือ การบำรุงรักษา และการซ่อมแซมเกี่ยวกับทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบการสอน กิจกรรมที่ดำเนินการคือ การสั่ง การจัดคลังอุปกรณ์ การจัดหมวดหมู่ การทำแคตตาลอก การทำตารางสอน การจำหน่ายแจกจ่าย การใช้เครื่อง การซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพยากรการเรียน
2.6 การใช้ เป็นเรื่องของการใช้วัสดุ เครื่องมือ เทคนิคการวิจัยและการประเมินผล เพื่อให้การจัดการศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิผล ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียนมีการเลือก เช่น การเลือกวัตถุประสงค์การสอน การเลือกทรัพยากรการเรียน การกำหนดขนาดกลุ่ม-กลุ่มใหญ่-กลุ่มเล็ก หรือการเรียนแบบรายบุคคล มีการเตรียมการ เช่น เตรียมทรัพยากรการเรียนเตรียมผู้เรียน เตรียมชั้นเรียน มีการนำเสนอ และการประเมินผลการเรียน อันเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีการศึกษา รวมทั้งการสอนซ่อมเสริมสำหรับผู้เรียนที่มีปัญหาในการเรียนไม่ได้มาตรฐานเท่าระดับชั้น หรือผู้เรียนที่มีปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับส่วนบุคคล
เป็นต้น
3 ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources) ทรัพยากรการเรียน ได้แก่ ทรัพยากรทุกชนิด ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้แบบเชิงเดี่ยว หรือแบบผสม แบบไม่เป็นทางการ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่ข้อสนเทศ/ข่าวสาร บุคคล วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่
แหล่งข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น